top of page

7 ปัญหา ในการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ของลูกหนี้การค้าตามมาตรฐาน TFRS9

จากประสบการณ์การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ตามมาตรฐาน TFRS9 ของเครื่องมือทางการเงินกลุ่มลูกหนี้การค้า มามากกว่า 300 บริษัท ทาง ABS พบว่าปัญหาที่บริษัทต่าง ๆ พบเจอหากจัดทำการประเมินด้วยตัวเอง จะมีดัง 7 ข้อ ต่อไปนี้

7 ปัญหาการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้การค้า TFRS 9

1. ความยุ่งยากในการแปลงข้อมูลลูกหนี้คงค้างย้อนหลัง ที่ดึงจากระบบ มาทำการศึกษาสถิติเพื่อให้เห็นแนวโน้มพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยจะต้องมีข้อมูลที่มากเพียงพอ (อย่างน้อย 36 เดือน ย้อนหลัง) จากนั้นจึงต้องทำการจัดกลุ่มลูกหนี้แต่ละรายการ ให้จำแนกตามระดับความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างสมเหตุสมผล เช่น จำแนกเป็นอายุหนี้รายเดือน (Aging) ตามจำนวนวันที่ค้างชำระ (Day Pass Due) เป็นต้น


การประเมินผลขาดทุนของลูกหนี้การค้าจาก Aging Report ในแต่ละเดือน โดย ABS รับคำนวณ TFRS 9

จากภาพ ตารางด้านซ้าย ในแต่ละ Column จะแสดงถึงลูกหนี้คงค้าง ณ แต่ละสิ้นเดือนที่ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังมา และตารางด้านขวาจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มพฤติกรรมการชำระของลูกหนี้ (การไหลตกชั้นของ Aging) ตามแนวทะแยง


การที่บริษัททำการประเมิน ECL เอง อาจต้องเสียเวลาในการเขียน Worksheet สำหรับแปลงข้อมูลดังกล่าวไปไม่น้อยเลยทีเดียว


2. การเก็บข้อมูลย้อนหลังที่มีจำนวนมาก แต่กลับไม่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลายคนอาจมีคำถามว่าการที่เก็บข้อมูลย้อนหลังมาแล้วไม่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หมายความว่าอย่างไร ?

ABS ขออธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังภาพ

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล Aging Report table เพื่อประเมิน ECL

จากภาพ จะแสดงให้เห็นว่าข้อมูลลูกหนี้คงค้างย้อนหลังที่เก็บมาได้ 24 เดือน (31 Jan 2018 ถึง 31 Dec 2019) สามารถใช้งานได้เพียง 12 เดือน (31 Jan 2018 ถึง 31 Dec 2018) เนื่องทำจากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกหนี้ไปจนถึง Aging ที่ 12 (Ultimate Aging Duration เป็น Aging ที่ 12) จึงเกิดความล้าหลังของข้อมูล (Time Lagging of Data) ไป 12 เดือนเช่นกัน (พื้นที่ในตารางที่แรเงาสีดำคือข้อมูลส่วนที่ไม่ได้นำมาใช้ ทั้ง ๆ ที่เป็นข้อมูลพฤติกรรมของลูกหนี้ที่ Update ที่สุดนั่นเอง)


3. ข้อจำกัดของวิธีการหาค่าเฉลี่ยของ Loss Rate

ที่หลาย ๆ บริษัททำการคำนวณเอง แล้วพบว่าค่าเปอร์เซนต์ของ Loss Rate ที่ได้ มีความผิดปกติและดูไม่สมเหตุสมผล อันเนื่องมาจากการไหลตกชั้นของลูกหนี้มีความคลาดเคลื่อน


4. Ultimate Aging Duration และ Recovery Rate สิ่งที่หลาย ๆ บริษัทมองข้าม

การที่บริษัททำการคำนวณเอง ส่วนมากจะสนใจเฉพาะโอกาสความน่าจะเป็นที่ลูกหนี้จะไม่จ่าย แต่ลืมพิจารณาไป ว่ายังมีกลุ่มที่เข้ามาจ่ายภายหลังที่เกิดการผิดนัดชำระไปแล้ว ทำให้ตั้ง ECL สูงเกินความเป็นจริงไป และไม่สะท้อนความเป็นจริงนั่นเอง


5. Forward – looking View ที่จำเป็นต้องพิจารณาลงไปในสมมติฐานการประเมิน

ที่หลาย ๆ บริษัทประสบปัญหาว่าจะใช้หลักการทางสถิติอย่างไรมารองรับการพยากรณ์สภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน TFRS9


6. การทดสอบความอ่อนไหวของสมมติฐาน (Sensitivity Test)

เป็นสิ่งที่หลาย ๆ บริษัท ที่ทำการคำนวณเองมองข้ามไปเนื่องจากการประเมิน ECL เป็นการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอน ทำให้สมมติฐานที่ใช้ จะต้องมีการทดสอบให้ครอบคลุมทุกกรณีในช่วงที่เป็นไปได้ ตั้งแต่วิธีการถัวเฉลี่ยจุด Ultimate Aging Duration จนไปถึง สถานการณ์ของสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นไปได้ทุกสถานการณ์ในอนาคต อย่างสมเหตุสมผล


7. ความยุ่งยากในการตอบคำถามและการอธิบายผู้สอบบัญชี ให้เข้าใจถึงความสมเหตุสมผลของการตั้งสมมติฐาน

ในการที่บริษัททำการประเมิน ECL เองนั้น การอธิบายให้ผู้สอบบัญชีเข้าใจและยอมรับในการตั้งสมมติฐานอาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักเนื่องด้วยปัญหาที่ต้องพบเจอดังที่เล่าสู่กันฟังไปแล้วใน 6 ข้อก่อนหน้า


จากปัญหาทั้ง 7 ข้อ ดังกล่าว หลาย ๆ บริษัทอาจสามารถแก้ไขได้เองในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตามบริษัทก็จำเป็นต้องใช้เวลาและความพยายามไม่น้อย ในการรับมือกับความยุ่งยากเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดทำงบการเงินได้ ดังนั้น ABS จึงนับเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ทางบริษัทสามารถก้าวข้ามปัญหาดังกล่าวทั้งหมดได้ภายในเวลาที่รวดเร็ว ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ ได้รับการยอมรับจากผู้สอบบัญชี

 

เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)


ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น

 

สนใจประเมิน TFRS9 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ประสบการณ์ยาวนานและประเมินจริงกว่า 300 บริษัท ด้วยความคุ้มค่าเกินราคา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณศุภิชา (087-100-7199) หรือ อาจารย์ทอมมี่ (082-899-7979)


ตัวอย่างรายชื่อลูกค้า (Our Clients) สามารถดูตัวอย่างเสียงตอบรับจากผู้ใช้บริการการประเมินของเราได้ที่ www.TFRS9consulting.com/clients


Comentarios


bottom of page